บทเรียนการจัดทำข้อเสนอแนะสำหรับผู้บริหาร
Dublin Core
Subject
Description
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ผมได้เข้ามาเป็นหัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต ภายใต้วิสัยทัศน์ของอธิบดีกรมสุขภาพจิตในขณะนั้น (นายแพทย์ มล.สมชาย จักรพันธุ์) ที่ต้องการให้กลุ่มที่ปรึกษาฯ ทำหน้าที่เป็น “มันสมอง” หรือมือวิชาการให้กับผู้บริหารของกรมสุขภาพจิต หนึ่งในภารกิจสำคัญของกลุ่มที่ปรึกษาฯ คือ การให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (Policy Brief) ให้กับผู้บริหาร โดยมีการประชุมทุกสัปดาห์ วิเคราะห์ทั้งสถานการณ์สุขภาพจิตภายนอก เช่น ภาวะวิกฤติ ข่าวสุขภาพจิตและระบบภายใน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการต่างๆ หัวใจสำคัญของการจัดทำข้อเสนอแนะคือ การให้ข้อคิดเห็นเป็นทีมหรือองค์คณะที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาอาวุโส โดยมีผู้บริหารกรมฯเป็นประธานการประชุม การพิจารณาจะต้องมีการเตรียมข้อมูลทางวิชาการมานำเสนอ มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง และสรุปเป็นข้อเสนอแนะจากที่ประชุม ก่อนที่จะมอบหมายผู้เขียนเพื่อจะนำเสนอเป็นเอกสารให้อธิบดีพิจารณาและสั่งการต่อไป
ขอบเขตของข้อเสนอแนะในเอกสารนี้ ได้รวบรวมเฉพาะบางเรื่องที่ผมได้รับมอบหมายให้เป็นผู้เขียน โดยแบ่งเป็น 5 หมวด คือ 1) สุขภาพจิตกับภัยธรรมชาติ 2) สุขภาพจิตกับวิกฤติการเมืองและประเทศ 3) สุขภาพจิตจากประเด็นข่าว 4) นโยบายระบบและงานวิชาการสุขภาพจิต และ 5) งานวิชาการต่างประเทศ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงภารกิจที่ได้รับมอบหมายภายหลัง คือ การกลั่นกรองข้อเสนอแนะจากการตรวจราชการ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของสำนักยุทธศาสตร์สุขภาพจิต (สยส.)
ขอบเขตของข้อเสนอแนะในเอกสารนี้ ได้รวบรวมเฉพาะบางเรื่องที่ผมได้รับมอบหมายให้เป็นผู้เขียน โดยแบ่งเป็น 5 หมวด คือ 1) สุขภาพจิตกับภัยธรรมชาติ 2) สุขภาพจิตกับวิกฤติการเมืองและประเทศ 3) สุขภาพจิตจากประเด็นข่าว 4) นโยบายระบบและงานวิชาการสุขภาพจิต และ 5) งานวิชาการต่างประเทศ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงภารกิจที่ได้รับมอบหมายภายหลัง คือ การกลั่นกรองข้อเสนอแนะจากการตรวจราชการ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของสำนักยุทธศาสตร์สุขภาพจิต (สยส.)
Creator
Publisher
กลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
Date
Format
Language
Type
Date Copyrighted
License
Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Rights Holder
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
Social Bookmarking
Position: 810 (620 views)