คู่มือความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ
Dublin Core
Description
ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปีพ.ศ. 2550 เป็นต้นมา การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อวงการแพทย์และสาธารณสุข ทั้งนี้เพราะผู้สูงอายุมีระบาดวิทยาของโรค ระยะเวลาการเจ็บป่วย ลักษณะทางคลินิก ตลอดจนวิธีการดูแลรักษาแตกต่างไปจากประชากรกลุ่มอื่น จึงจัดให้เป็นกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงทางสุขภาพสูง นอกจากการเสื่อมของสภาพร่างกายแล้ว การสูญเสียสถานภาพและบทบาททางสังคมยังส่งผลโดยตรงต่อสภาพจิตใจของผู้สูงอายุ จากการสำรวจข้อมูลด้านสาธารณสุขพบว่าผู้สูงอายุยังพบปัญหาสมองเสื่อม ซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย ดังนั้น เมื่อเกิดการเจ็บป่วยทำให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพสูงกว่าประชากรกลุ่มวัยอื่น มีหลักฐานทางการแพทย์และงานวิจัยยืนยันว่าการส่งเสริมสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจจะช่วยชะลอการเสื่อมของร่างกายรวมทั้งเสริมสร้างพฤติกรรมดีทางด้านสุขภาพ ความรู้สึกทางบวก และสร้างเสริมกำลังใจให้กับผู้สูงอายุได้
กรมสุขภาพจิตได้พัฒนา คู่มือ “ความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ” โดยนำแนวคิดในการสร้างสุข จากหลักธรรมะ 4 ประการของศาสนาพุทธ คือสุขกาย สุขใจ พลานามัยสมบูรณ์ เพิ่มพูนงานอดิเรก แนวคิดในการสร้างความสุขเชิงจิตวิทยา แนวคิดในการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวมคือ กาย จิต สังคม และปัญญา รวมทั้งการประเมินสุขภาวะของผู้สูงอายุจากราชวิทยาลัยแพทย์และสมาคมเวชศาสตร์ผู้สูงอายุประเทศอังกฤษ มาเป็นกรอบสร้างความสุข 5 มิติได้แก่ สุขสบาย สุขสนุก สุขสว่าง สุขสง่า และสุขสงบ เพื่อเป็นแนวทางให้บุคลากรสาธารณสุขและบุคลากรในภาคส่วนอื่นที่ต้องดูแลผู้สูงอายุในเขตที่ตนเองรับผิดชอบ นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้รู้จักมองโลกในแง่บวก เข้าใจสภาวะธรรมชาติของมนุษย์ รู้จักวิธีการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเอง สามารถจัดการกับอารมณ์ลบที่เกิดขึ้น และเรียนรู้ที่จะจัดการกับสิ่งต่างๆในชีวิตอย่างมีเหตุผล ถือเป็นการเตรียมพร้อมของหน่วยบริการในการรองรับและดูแลประชากรสูงอายุในพื้นที่ให้กลายเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ มีพลังในการขับเคลื่อนชุมชนในฐานะผู้ที่มีประสบการณ์ มีความคิดอ่านสุขุมรอบคอบและทำคุณประโยชน์ให้แก่ชุมชนดังเช่นในอดีตที่อยู่ในวัยทำงาน
กรมสุขภาพจิตได้พัฒนา คู่มือ “ความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ” โดยนำแนวคิดในการสร้างสุข จากหลักธรรมะ 4 ประการของศาสนาพุทธ คือสุขกาย สุขใจ พลานามัยสมบูรณ์ เพิ่มพูนงานอดิเรก แนวคิดในการสร้างความสุขเชิงจิตวิทยา แนวคิดในการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวมคือ กาย จิต สังคม และปัญญา รวมทั้งการประเมินสุขภาวะของผู้สูงอายุจากราชวิทยาลัยแพทย์และสมาคมเวชศาสตร์ผู้สูงอายุประเทศอังกฤษ มาเป็นกรอบสร้างความสุข 5 มิติได้แก่ สุขสบาย สุขสนุก สุขสว่าง สุขสง่า และสุขสงบ เพื่อเป็นแนวทางให้บุคลากรสาธารณสุขและบุคลากรในภาคส่วนอื่นที่ต้องดูแลผู้สูงอายุในเขตที่ตนเองรับผิดชอบ นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้รู้จักมองโลกในแง่บวก เข้าใจสภาวะธรรมชาติของมนุษย์ รู้จักวิธีการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเอง สามารถจัดการกับอารมณ์ลบที่เกิดขึ้น และเรียนรู้ที่จะจัดการกับสิ่งต่างๆในชีวิตอย่างมีเหตุผล ถือเป็นการเตรียมพร้อมของหน่วยบริการในการรองรับและดูแลประชากรสูงอายุในพื้นที่ให้กลายเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ มีพลังในการขับเคลื่อนชุมชนในฐานะผู้ที่มีประสบการณ์ มีความคิดอ่านสุขุมรอบคอบและทำคุณประโยชน์ให้แก่ชุมชนดังเช่นในอดีตที่อยู่ในวัยทำงาน
Creator
Publisher
สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
Date
Language
Type
Date Created
2012-03-01
Date Copyrighted
License
Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Rights Holder
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
Social Bookmarking
Position: 18 (11969 views)