คลังความรู้สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
Search using this query type:

Search only these record types:


Advanced Search (Items only)

ช่วยผู้อื่นได้ดี เมื่อดูแลตัวเองเป็น

S__40230953.jpg

Dublin Core

Description

3 ขั้นตอนการดูแลตัวเอง สำหรับเจ้าหน้าที่ภาคสนามในสถานการณ์แผ่นดินไหว
1. ก่อนลงพื้นที่... เตรียมตัวให้พร้อม
• ศึกษาพื้นที่เสี่ยง เช่น จุดเสี่ยงดินถล่ม อาคารพัง หรืออาฟเตอร์ช็อก
• เช็กสุขภาพตัวเอง ทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อมรับมือหรือไม่?
• มีโรคประจำตัว หรือปัญหาครอบครัวที่ต้องจัดการก่อนหรือไม่?
• เตรียมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เช่น หมวกนิรภัย ถุงมือ รองเท้าเซฟตี้ หน้ากากกันฝุ่น
• ถามตัวเองอีกครั้งว่า "เราพร้อมช่วยในภารกิจนี้จริงๆ หรือยัง?"

2. ระหว่างปฏิบัติงาน... ทีมเวิร์กและพักผ่อนคือหัวใจ
• หยุดพักบ้าง กินข้าว ดื่มน้ำ (พื้นที่แผ่นดินไหวมักมีฝุ่นมาก)
• ไม่ทำงานในพื้นที่เสี่ยงเกิน 12 ชม. แบ่งเวรชัดเจน
• ยอมรับข้อจำกัด ช่วยเท่าที่ไหว ไม่ต้องแบกทุกปัญหาไว้คนเดียว
• เลี่ยงแอลกอฮอล์ บุหรี่ กาแฟ หรือยาที่ไม่จำเป็น
• สังเกตเพื่อนร่วมทีม ถามไถ่ “วันนี้เป็นยังไงบ้าง?”
• พูดคุยระบายความรู้สึกกับเพื่อนหรือหัวหน้า โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ

3. หลังเสร็จภารกิจ... อย่าลืมเยียวยาใจตัวเอง
• แบ่งปันประสบการณ์กับทีม หัวหน้า หรือนักจิตวิทยา
• ให้คุณค่าแม้การช่วยเล็กๆ ก็มีความหมาย
• ทบทวนสิ่งที่ทำได้ดี สิ่งที่ควรปรับ และสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้
• พักอย่างน้อย 24-48 ชม. ก่อนกลับสู่ชีวิตปกติ
• หากมีอาการผิดปกติ เช่น ฝันร้าย นอนไม่หลับ เครียดหนัก หรือดื่มมากขึ้น อย่าลังเลที่จะ ขอความช่วยเหลือจากแพทย์หรือนักจิตวิทยา

หากรู้สึกเครียด นอนไม่หลับ กังวลใจ
ปรึกษาได่ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 / ศูนย์เยียวยาจิตใจ 1667
พูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือผู้ให้คำปรึกษาได้ฟรี

ดูแลตัวเอง = ดูแลทีม และดูแลผู้ประสบภัยได้ดียิ่งขึ้น
สุขภาพจิตของคุณ... สำคัญเสมอ

…………………………………………………
"To best help others, first care for yourself."
3 Self-Care Steps for Field Responders in Earthquake Situations
1. Before Deployment... Prepare Yourself
- Assess risks: Identify landslide-prone areas, collapsed buildings, or aftershock zones.
- Check your physical & mental readiness: Are you truly prepared?
- Manage pre-existing conditions: Address any health issues or family concerns beforehand.
- Pack PPE: Helmets, gloves, safety boots, and dust masks are essential.
- Ask yourself: *"Am I truly ready for this mission?"
2. During Operations... Teamwork & Rest Are Key
- Pause to refuel: Eat, hydrate (dust levels are often high post-earthquake).
- Limit shifts to <12 hours in hazardous zones—rotate clearly.
- Acknowledge limits: Help within your capacity; you don’t carry burdens alone.
- Avoid alcohol, cigarettes, excess coffee, or unprescribed meds.
- Check on teammates: "How are you holding up today?"
- Debrief emotions with peers/supervisors—especially after traumatic incidents.
3. After the Mission... Heal Your Mind
- Share experiences with your team, leads, or psychologists.
- Honor small wins: Every effort matters.
- Reflect: What went well? What needs adjustment? What was beyond control?
- Rest 24–48 hours before resuming normal life.
- Seek help if you experience nightmares, insomnia, severe stress, or increased substance use.

Need Support? Mental Health Hotline 1323 / Psychosocial Support Center 1667
Free counseling with psychologists or counselors—available 24/7.

Caring for yourself = Better care for your team and survivors.
Your mental health always matters.

Publisher

สำนักความรอบรู้สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

Date

Format

Language

Date Copyrighted

License

Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

Rights Holder

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
Notice créée par Phopthorn Wuttiharn

Social Bookmarking

Position: 1375 (539 views)