ศึกษาผลการพัฒนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ กรมสุขภาพจิต
Dublin Core
หัวเรื่อง
คำบรรยาย
การศึกษาผลการพัฒนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ กรมสุขภาพจิต มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ กรมสุขภาพจิต และเพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ กรมสุขภาพจิต โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์การใช้งานจริงของระบบ ปัญหาอุปสรรค และแนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการเอกสารในหน่วยงานภาครัฐ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรในหน่วยงานสังกัดกรมสุขภาพจิตที่ใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์จริง จำนวนทั้งสิ้น 33 แห่ง ประกอบด้วย สถาบัน/โรงพยาบาลและศูนย์สุขภาพจิต
ผลการศึกษาพบว่า หน่วยงานส่วนใหญ่มีการนำระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการดำเนินงานเอกสารอย่างต่อเนื่องและสามารถลดภาระงานด้านเอกสารแบบเดิมได้เป็นอย่างดี เช่น การรับ-ส่งหนังสือราชการ การลงรับเอกสาร การค้นหาเอกสารย้อนหลังและการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ตามยังพบข้อจำกัดบางประการ ได้แก่ ระบบมีความซับซ้อนในบางฟังก์ชัน การสืบค้นที่ยังไม่สะดวก ความล่าช้าในการโหลดข้อมูล การแสดงผลที่ไม่รองรับกับอุปกรณ์เคลื่อนที่และความไม่เข้าใจ ของผู้ใช้งานบางกลุ่ม โดยเฉพาะผู้ที่มีทักษะทางเทคโนโลยีน้อยหรืออยู่ในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดด้านอินเทอร์เน็ตการพัฒนาระบบในอนาคตจึงควรคำนึงถึงการออกแบบที่เน้นผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง (User-Centered Design) เพื่อให้ระบบใช้งานได้ง่าย รองรับการใช้งานบนอุปกรณ์หลากหลายประเภทและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานทุกระดับ นอกจากนี้ยังควรมีการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจและทักษะของบุคลากรผ่านการอบรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การใช้งานระบบเกิดประสิทธิผลสูงสุด
ข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบในระยะต่อไป ประกอบด้วย 1) การนำวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมาผสมผสานกับเชิงปริมาณเพื่อให้เข้าใจมุมมองของผู้ใช้งานอย่างลึกซึ้ง 2) การประเมินผลระบบในระยะยาวเพื่อวัดผลกระทบเชิงประสิทธิภาพและความพึงพอใจ และ 3) การศึกษารูปแบบการเชื่อมโยงระบบสารบรรณกับระบบงานอื่นของหน่วยงานเพื่อส่งเสริมการบริหารงานแบบบูรณาการในยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ผลการศึกษาพบว่า หน่วยงานส่วนใหญ่มีการนำระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการดำเนินงานเอกสารอย่างต่อเนื่องและสามารถลดภาระงานด้านเอกสารแบบเดิมได้เป็นอย่างดี เช่น การรับ-ส่งหนังสือราชการ การลงรับเอกสาร การค้นหาเอกสารย้อนหลังและการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ตามยังพบข้อจำกัดบางประการ ได้แก่ ระบบมีความซับซ้อนในบางฟังก์ชัน การสืบค้นที่ยังไม่สะดวก ความล่าช้าในการโหลดข้อมูล การแสดงผลที่ไม่รองรับกับอุปกรณ์เคลื่อนที่และความไม่เข้าใจ ของผู้ใช้งานบางกลุ่ม โดยเฉพาะผู้ที่มีทักษะทางเทคโนโลยีน้อยหรืออยู่ในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดด้านอินเทอร์เน็ตการพัฒนาระบบในอนาคตจึงควรคำนึงถึงการออกแบบที่เน้นผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง (User-Centered Design) เพื่อให้ระบบใช้งานได้ง่าย รองรับการใช้งานบนอุปกรณ์หลากหลายประเภทและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานทุกระดับ นอกจากนี้ยังควรมีการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจและทักษะของบุคลากรผ่านการอบรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การใช้งานระบบเกิดประสิทธิผลสูงสุด
ข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบในระยะต่อไป ประกอบด้วย 1) การนำวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมาผสมผสานกับเชิงปริมาณเพื่อให้เข้าใจมุมมองของผู้ใช้งานอย่างลึกซึ้ง 2) การประเมินผลระบบในระยะยาวเพื่อวัดผลกระทบเชิงประสิทธิภาพและความพึงพอใจ และ 3) การศึกษารูปแบบการเชื่อมโยงระบบสารบรรณกับระบบงานอื่นของหน่วยงานเพื่อส่งเสริมการบริหารงานแบบบูรณาการในยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ผู้สร้าง
ผู้เผยแพร่
กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
วันที่
รูปแบบ
ภาษา
ประเภท
ความครอบคลุม
นนทบุรี : กรมสุขภาพจิต ; 2568
Table Of Contents
บทที่ 1 บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ... 1
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย ... 3
1.3 กรอบแนวคิดในการวิจัย ... 4
1.4 ขอบเขตของการวิจัย ... 4
1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ... 4
1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ ... 5
บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการประเมินผล ... 6
2.2 ประวัติความเป็นมาของงานสารบรรณ ... 8
2.3 พัฒนาการของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ ... 9
2.4 แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566–2570 ... 11
2.5 ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาโดยสำนักงานรัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ... 13
2.6 แผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ (พ.ศ. 2561–2580) ... 14
2.7 ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสุขภาพจิต (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548) ... 16
2.8 ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสุขภาพจิต (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567) ... 22
2.9 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ... 22
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ... 27
3.2 ระเบียบวิธีวิจัย ... 28
3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ... 28
3.4 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ... 30
3.5 กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล ... 30
3.6 การวิเคราะห์ข้อมูลและวิธีการทางสถิติ ... 31
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ... 32
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
5.1 สรุปผล ... 38
5.2 อภิปรายผล ... 40
5.3 ข้อเสนอแนะ ... 41
บรรณานุกรม ... 43
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ... 1
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย ... 3
1.3 กรอบแนวคิดในการวิจัย ... 4
1.4 ขอบเขตของการวิจัย ... 4
1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ... 4
1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ ... 5
บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการประเมินผล ... 6
2.2 ประวัติความเป็นมาของงานสารบรรณ ... 8
2.3 พัฒนาการของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ ... 9
2.4 แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566–2570 ... 11
2.5 ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาโดยสำนักงานรัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ... 13
2.6 แผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ (พ.ศ. 2561–2580) ... 14
2.7 ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสุขภาพจิต (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548) ... 16
2.8 ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสุขภาพจิต (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567) ... 22
2.9 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ... 22
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ... 27
3.2 ระเบียบวิธีวิจัย ... 28
3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ... 28
3.4 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ... 30
3.5 กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล ... 30
3.6 การวิเคราะห์ข้อมูลและวิธีการทางสถิติ ... 31
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ... 32
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
5.1 สรุปผล ... 38
5.2 อภิปรายผล ... 40
5.3 ข้อเสนอแนะ ... 41
บรรณานุกรม ... 43
Date Created
2025-05-20
Extent
A4 : 54 หน้า
Rights Holder
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
Social Bookmarking
Position: 1459 (454 views)