ผลการวิจัยปรากฏว่า เยาวชนคิดว่าตนเองไม่ได้ดื่มในปริมาณที่อันตราย เลือกดื่มเบียร์หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีราคาไม่สูง หรือผู้จำหน่ายจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย โดยสถานที่ที่นิยมดื่มเป็นที่แรกคือหอพักก่อนจะไปใช้บริการในสถานบันเทิง และสาเหตุการดื่มคือเรื่องของสังคมและการคบเพื่อนโดยสิ่งแวดล้อมก็เป็นปัจจัยต่อการบริโภคเพราะสิ่งแวดล้อมที่มีผู้ดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลให้เยาวชนเกิดความรู้สึกคุ้นเคย อยากลองไม่อยากที่จะแตกต่างจากสมาชิกในสังคมตนเอง ซึ่งนโยบายและมาตรการทางกฎหมายที่เยาวชนเกรงกลัวคือพระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ที่กำหนดว่าผู้ขับขี่ซึ่งมีอายุต่า กว่ายี่สิบปี บริบูรณ์ ห้ามขับขี่ในกรณีมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 20 mg% เนื่องจากเห็นการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตามมาตรการนี้เสมอและไม่ต้องการให้ครอบครัวเดือดร้อนดำเนินการ กิจกรรมที่มีส่วนต่อการลดละเลิกในความคิดเห็นของเยาวชนคือการส่งเสริมให้เยาวชนสามารถเข้าถึงการณรงค์และการใช้เวลาและโอกาสที่สร้างสรรค์ทางสังคม โดยกำหนดบทบาทให้เยาวชนมีส่วนร่วม โดยรูปแบบการลดละเลิกตามผลการศึกษา พบว่า การลดประกอบด้วยการจำหน่าย การขายและการสร้างค่านิยมให้เรื่องของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เป็นเรื่องปกติ รวมไปถึงผลที่จะได้รับจากรูปแบบหากละเมิดรูปแบบจากการลดในมิติของการควบคุม รูปแบบการละ ประกอบด้วยนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการเพิ่มขึ้นของนักดื่มหน้าใหม่ที่เป็นเยาวชนด้วยการสร้างทักษะชีวิต เสริมภูมิคุ้มกันด้วยการสร้างสังคมปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รูปแบบการเลิก ประกอบด้วยนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงกลุ่มเสี่ยงและช่วยเหลือด้วยการบำบัดรักษาทั้งทางจิตสังคม และการรักษาทางการแพทย์]]>
นรกมล ทองเปลี่ยน]]> 2019-08-01]]> 2019-08-01]]> PDF]]> Thai]]> วิจัย]]>