ความฉลาดทางอารมณ (EQ)]]> ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก]]> สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์]]> 2007-07-01]]> สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข]]>
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.]]>
PDF]]> ภาษาไทย]]>
การดูแลเด็ก]]> วันนี้เพจสถาบันฯขอนำเสนอ วิธีทำโทษที่ทำให้ลูกคิดได้ด้วยตัวเองและไม่ทำร้ายจิตใจลูก]]> เมื่อลูกทำผิด ควรลงโทษอย่างไร

หลายคนเวลาลูกทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แต่พ่อแม่ไม่ลงโทษ เพราะอาจเห็นว่ายังเด็กอยู่ หรือบางคนก็ดุด่าลูกรุนแรง
วันนี้เพจสถาบันฯขอนำเสนอ วิธีทำโทษที่ทำให้ลูกคิดได้ด้วยตัวเองและไม่ทำร้ายจิตใจลูก

เด็กทำผิด มาจากหลายสาเหตุ เช่น ควบคุมอารมณ์และความต้องการตัวเองไม่ได้ การทำตามเพื่อน หรือทำความผิดเพราะกลัวถูกลงโทษ เป็นต้น

ฟังก่อนตัดสิน : ฟังเรื่องราว เมื่อลูกต้องการเล่าหรืออธิบายส่งที่เกิดขึ้น ขณะลูกเล่าให้ สังเกตสีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง ว่าลูกรู้สึกอย่างไร มีเจตนาอย่างไร และแสดงให้ลูกเห็นว่า “เราเข้าใจความรู้สึกลูก” ด้วยคำพูดและการกระทำ ที่สะท้อนอารมณ์และความรู้สึกของเขา ลูกก็จะรู้สึกว่า “มีคนเข้าใจและพร้อมรับฟังเขาเสมอ”

ชวนคิดเหตุผล : เมื่อลูกได้เล่าระบายความรู้สึก อารมณ์สงบมากขึ้น ถึงตอนนี้แหละค่ะ ให้พ่อแม่บอกว่า “ลูกทำอะไรผิด …. พ่อกับแม่จึงต้องลงโทษ”

ลงโทษอย่างเข้าใจและไม่ใช้ความรุนแรง : เลือกวิธีการลงโทษที่ไม่สร้างบาดแผลในใจให้แก่ลูก ได้แก่

1. การตัดสิทธิ์ที่จะได้ทำในสิ่งที่ลูกชอบ เช่น เล่นเกม กินขนม หรืออดปั่นจักรยาน

2. หากความผิดนั้นเกิดจากการที่ลูกควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้ ก็ควรให้หยุดพักจากการทำกิจกรรมนั้นๆทันที เพื่อให้ลูกสงบอารมณ์ตัวเอง โดยให้ลูกอยู่ใน “มุมสงบ”ที่ปลอดภัยและไม่มีสิ่งกระตุ้นเร้า

3. รับผิดชอบในความผิดของตนเอง โดยให้เด็กทำในสิ่งที่ไม่ชอบในปริมาณมาก แต่เป็นประโยชน์ เช่น ให้ล้างแก้วน้ำของทุกคนในบ้านเป็นเวลา 1 อาทิตย์ เพราะลูกลืมแก้วน้ำไว้ที่โรงเรียน เป็นต้น

4. พ่อแม่เพิกเฉย ในกรณีที่ลูกทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เพื่อเรียกร้องความสนใจ โดยพฤติกรรมนั้นไม่รุนแรงและไม่เป็นอันตราย และควรให้คำชม เมื่อเด็กทำพฤติกรรมดีขึ้น

ชวนคิดแก้ปัญหา : “ครั้งหน้าเราจะทำอย่างไรดี? ” ชวนลูกคิดและหาวิธีแก้ปัญหา ว่าถ้าครั้งหน้าเกิดเหตุการณ์ที่อาจทำให้ลูกทำความผิดอีก เราจะใช้วิธีไหนดี โดยพ่อแม่ต้องฟังและคอยชี้แนะเหมือนเป็น “เพื่อนช่วยคิด”

การกระทำผิด เป็นเรื่องปกติของเด็กๆ แต่ผู้ใหญ่ควรมีวิธีสอนที่ถูก เพื่อให้เด็กรับรู้ให้ทางที่ถูก และไม่กระทำผิดอีก และไม่กระทบต่อจิตใจของเด็กในอนาคต จะช่วยให้ลูกน้อยเติมโตเป็นเด็กที่มีสุขภาพจิตที่ดี
]]>
สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์]]> 2020/17/11]]> infographic]]> THAI]]> อิเล็กทรอนิกส์]]>
การดูแลเด็ก]]> การสร้างวินัยของลูกเริ่มได้ที่บ้าน
จากการฝึกให้ลูกทำงานบ้านที่เหมาะสมกับวัย
และศักยภาพของลูก ]]>
งานบ้านสร้างวินัยลูกน้อย
การสร้างวินัยของลูกเริ่มได้ที่บ้าน
จากการฝึกให้ลูกทำงานบ้านที่เหมาะสมกับวัย
และศักยภาพของลูก การที่ลูกทำอะไรได้ด้วยตัวเอง
จะเป็นการฝึกกระบวนการคิด การแก้ปัญหา
ฝึกความพยายามและความอดทน
สร้างเด็กให้มีความรับผิดชอบ รู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง
เพียงแค่พ่อแม่เปิดโอกาสให้ลูกได้ทำด้วยตนเอง
ก็สามารถสร้างวินัยง่ายๆ ได้จากชีวิตประจำวัน

สำหรับเด็กอายุ 2-3 ปี
1.เก็บที่นอน ช่วงแรกๆพ่อแม่อาจช่วยลูกทำก่อน ชวนลูกทำไปด้วยกัน อาจยังไม่เรียบร้อยไม่เป็นไร พอลูกเริ่มทำคล่องแล้วค่อยปล่อยให้ลูกทำเอง
2.เก็บของเล่นให้เรียบร้อย หากล่องเก็บของเล่นที่มีสีสันเพิ่มแรงดึงดูกในกับลูก
3.ทำความสะอาดห้องนอน เริ่มฝึกด้วยการปัดกวาดเช็ดถู ค่อยๆ ทำ ไปพร้อมๆ กับพ่อแม่
4.เอาเสื้อผ้าที่ใส่แล้ว ไปใส่ไว้ในตะกร้าผ้า
5.ให้อาหารสัตว์เลี้ยง

สำหรับเด็กอายุ 4-7 ปี
1.เก็บเตียงให้เรียบร้อย จัดที่นอนให้เป็นระเบียบ
2.เอาเสื้อผ้าที่ใส่แล้วลงตะกร้า แล้วช่วยพ่อแม่ซักผ้าและตากผ้า
3.รดน้ำต้นไม้ ดูแลดอกไม้ อาจเป็นกิจกรรมให้ลูกมีต้นไม้ประจำตัว ฝึกการสังเกตการเจริญเติบโตของต้นไม้
4.ช่วยแม่จัดโต๊ะอาหาร หรือฝึกทำอาหารกับพ่อแม่ไปด้วย
5.จัดกระเป๋าไปโรงเรียนเอง โดยพ่อแม่ช่วยดูตารางสอนให้

สำหรับเด็กอายุ 8-10 ปี
1.จัดเตียงให้เรียบร้อย เด็กอายุเท่านี้ควรจะพับผ้าห่ม จัดผ้าปูเตียงให้ตึง และวางหมอนไว้หัวเตียง ได้อย่างเรียบร้อย
2.ซักผ้า ตากผ้า และฝึกการรีดผ้า
3.ฝึกทำอาหารกับพ่อแม่ และพ่อแม่ต้องคอยสังเกตลูกจนกว่าลูกจะใช้ของมีคมได้เก่งขึ้น
4.สอนลูกล้างจาน ให้ลูกลองล้างแก้วและชามพลาสติกเสียก่อน เมื่อลูกล้างถนัดแล้วก็ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นแก้วและจานกระเบื้อง
5.จัดกระเป๋านักเรียนเอง]]>
สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์]]> 2020/11/17]]> อินโฟกราฟฟิค]]> THAI]]> อิเล็กทรอนิกส์]]>
สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์]]> 2020-01-29]]> 2020-01-29]]> PDF]]> Thai]]> แผ่นพับ]]> สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์]]> 2020-01-29]]> 2020-01-29]]> PDF]]> Thai]]> แผ่นพับ]]> สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์]]> 2020-10-08]]> 2020-10-08]]> PDF]]> Thai]]> infographic]]> สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์]]> 2020-10-08]]> 2020-10-08]]> PDF]]> Thai]]> แผ่นพัล]]> สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์]]> 2020-10-08]]> 2020-10-08]]> PDF]]> Thai]]> แผ่นพับ]]>