(1) พัฒนาสัดส่วนบริการสุขภาพจิตให้เหมาะสมกับระบบบริการสาธารณสุขและความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะการพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตในชุมชนที่ยังจำกัดในประเทศ เช่น การฟื้นฟูสมรรถภาพ การดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาล บริการบ้านกึ่งวิถี การบริการเยี่ยมบ้าน และ การให้บริการฉุกเฉินในชุมชน
(2) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เครือข่ายสุขภาพจิตชุมชนในท้องถิ่น ถึงแม้ว่าโครงสร้างพื้นฐานของระบบบริการสาธารณสุขสนับสนุนการบูรณาการบริการสุขภาพจิต แต่ความครอบคลุมและประสิทธิภาพยังค่อนข้างจำกัด
(3) การดำเนินการพัฒนามาตรฐานบริการสุขภาพจิตในทุกระดับของบริการ เพื่อให้แน่ใจว่าบริการสุขภาพจิตที่มีคุณภาพสามารถเข้าถึงได้จากสถานพยาบาลใกล้บ้าน
(4) การจัดหายาจิตเวชที่พอเพียงในสถานพยาบาลท้องถิ่นอย่างน้อยที่สุดควรจะจัดหาได้ที่โรงพยาบาลชุมชน เนื่องจากผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังจำนวนมาก หากไม่ได้รับยารักษาจะส่งผลให้อาการป่วยกำเริบได้ ควรมีการพัฒนาระบบบริการที่ตรวจสอบความต่อเนื่องของการดูแลรักษาโดยความร่วมมือของสถานพยาบาลท้องถิ่น
ตลอดจนชุมชนอย่างจริงจัง
(5) เครือข่ายในชุมชนนอกจากระบบสาธารณสุขควรได้รับการสนับสนุนให้สนใจงานสุขภาพจิตมากขึ้น ลดอคติและการแบ่งแยกกีดกันผู้ป่วยจิตเวชและครอบครัว
(6) บริการสุขภาพจิตชุมชนควรร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่นเพื่อให้เกิดบริการสุขภาพจิตในชุมชนที่ยั่งยืนและตอบสนองความต้องการของชุมชน]]>
สมชาย จักรพันธุ์
]]>
พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์
]]>
สุชาดา สาครเสถียร
]]>
ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน
]]>
ปัทมา ศิริเวช
]]>
วิลัณภัทร รัตนเสถียร]]> อภิสมัย ศรีรังสรรค์]]> 2009-08-01]]> 2009-08-01]]> PDF]]> Thai]]> หนังสือ]]>